วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล จัดงานเสวนา “สงครามรัสเซีย–ยูเครน: ผลกระทบต่อความมั่นคงระดับโลก”

011-MUICs-IRGA-Hosts-Roundtable-on-War-in-Ukraine-
ข่าวกิจกรรมที่ผ่านมา

วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล จัดงานเสวนา “สงครามรัสเซีย–ยูเครน: ผลกระทบต่อความมั่นคงระดับโลก”

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเสวนา สงครามรัสเซียยูเครน: ผลกระทบต่อความมั่นคงระดับโลก เพื่อพูดคุยและเสวนาเกี่ยวกับผลกระทบที่รุนแรงในสงครามรัสเซีย–ยูเครน ที่มีผลกระทบไปถึงทวีปยุโรป และทั่วโลก โดยวิทยากรรับเชิญทุกท่านได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย โดยได้ประณามการก่อสงครามรุกรานครั้งนี้ รวมถึงการแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนยูเครนไปจนกว่าสงครามจะจบลง

วิทยากรของงานนี้ประกอบไปด้วย นาย เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย นายโจน
อัสโตรม โกรนดาห์ล เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย  นายมิคาล สเวดา รองเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก นายเรมี ลอมแบร์ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ  และนายพาฟโล โอเรล อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย โดยทุกท่านได้พูดเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย และการก่อเกิดผลกระทบที่รุนแรงจากสงครามต่อชีวิตหลายล้านคน ซึ่งนายพาฟโลได้เน้นย้ำเกี่ยวกับความสามัคคีและแรงใจในการต่อสู้ของประเทศยูเครนต่อการบุกรุกจากรัสเซีย และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประเทศทั่วโลก ในการต่อต้านพฤติกรรมของรัสเซีย

กิจกรรมนี้เน้นย้ำความสำคัญของความสามัคคีในระดับโลกในต่อการสนับสนุนประเทศยูเครน เพื่อที่จะสู้กับสงครามรุกรานที่รัสเซียได้ริเริ่ม วิทยากรทุกท่านเห็นตรงกันว่า ถึงแม้อาเซียนจะอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางของความขัดแย้งครั้งนี้ แต่อาเซียนเองก็อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากมหาอำนาจของเอเชียในอนาคตหากยอมให้รัสเซียได้กระทำตามความต้องการโดยไม่มีการลงโทษ หรือการประณามใดๆ สุดท้ายจะส่งผลถึงปัญหาความมั่นคงระดับโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยในอนาคต สุดท้ายนี้วิทยากรทุกท่านเรียกร้องให้ประเทศไทยร่วมมือกับประเทศยูเครนและแสดงเจตจำนงของประเทศไทย ในการสร้างสันติภาพและความสามัคคีในระดับโลก