MUIC และบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมจัดเวิร์คช็อปการทำอาหาร “Too Good to Waste”
มกราคม 23, 2024 2024-02-22 6:50MUIC และบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมจัดเวิร์คช็อปการทำอาหาร “Too Good to Waste”

MUIC และบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมจัดเวิร์คช็อปการทำอาหาร “Too Good to Waste”
ประเด็นในการมีส่วนร่วม
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด จัดเวิร์คช็อปการทำอาหาร “Too Good to Waste” เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การอาหาร อาคาร 1 วิทยาลัยนานาชาติ
ดร. ทองดี ปาโส กรรมการผู้จัดการ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยพนักงานของบริษัท ร่วมกับ Asst. Prof. Dr. Peter Kurdi อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จัดแคมเปญ “Too Good to Waste” ที่มีจุดประสงค์ในการรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่าพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในการบรรลุความยั่งยืนได้ง่ายในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มจากในครัวของตนเอง ด้วยการลดการสูญเสียอาหารและลดขยะระหว่างการเตรียมอาหารและการบริโภค
ในเวิร์คช็อป เชฟอภิสิทธิ์ จิตรประสงค์จะเป็นผู้สอนให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่สามารถลดขยะ 4 ประเภท ได้แก่ Whole Parts, Shells, Leftovers, และ Overripe เมนูที่นักศึกษาปรุง ได้แก่ Autumn Olsen Chicken Noodle Soup (Whole Parts), Ajino Shrimp Shell (Shells), Ba Ba O Jang Jang (Leftovers), and Ba! Ba! (Overripe) โดยเมนูที่ได้รับการโหวตเป็นจานที่ดีที่สุด คือ Ba Ba O Jang Jang
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
1. ดร. ทองดี ปาโส กรรมการผู้จัดการ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยพนักงานของบริษัท
2. Asst. Prof. Dr. Peter Kurdi และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ผลจากการมีส่วนร่วม
1.นักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจ
2. นักศึกษาได้รับการปลูกฝังความตระหนักด้านการมีส่วนร่วมในการบรรลุความยั่งยืน
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน
1. อาจารย์และนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตประจำวัน
2. วิทยาลัยนานาชาติสามารถนำแนวทางจากการทำเวิร์คช็อปไปรณรงค์สร้างความตระหนักด้านการมีส่วนร่วมในการบรรลุความยั่งยืนต่อไป