เปิดโลกสายวิเคราะห์การลงทุนและวางแผนสร้างรายได้ MUIC ขอแนะนำ “Finance” พร้อมแนะนำสายอาชีพในอนาคตที่มาแรง

1000-finance-major-blog
บทความสาระความรู้

เปิดโลกสายวิเคราะห์การลงทุนและวางแผนสร้างรายได้ MUIC ขอแนะนำ “Finance” พร้อมแนะนำสายอาชีพในอนาคตที่มาแรง

เปิดโลกสายวิเคราะห์การลงทุนและวางแผนสร้างรายได้ MUIC ขอแนะนำ “Finance” พร้อมแนะนำสายอาชีพในอนาคตที่มาแรง

สายงานด้านธุรกิจและบริหารการเงินกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีเจ้าของธุรกิจและแบรนด์สินค้าเพิ่มขึ้น จากตลาดออนไลน์ที่มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้น้องๆ หลายคนมีความฝันและตั้งใจเข้าสู่ส่วนหนึ่งของสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งสายงานด้านนี้มีหลากหลายสาขาที่ต้องใช้ความถนัดเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน แต่มี ในสายบริหารที่โดดเด่น และกำลังเป็นที่ต้องการของเจ้าของธุรกิจอยู่

นั่นก็คือ “สาขาวิชาการเงิน ( Finance )” นั่นเอง ซึ่งเป็นสาขาที่มุ่งเน้นให้น้องๆ ได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ การลงทุนต่อยอดทางธุรกิจโดยใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงเสริมสร้างความรู้ทางด้านธุรกิจที่จำเป็นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ การบัญชี การจัดการความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจอีกด้วย

ความพิเศษของ “สาขาวิชาการเงิน ( Finance )” ที่ MUIC นั่นคือน้องๆ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับทุนเพื่อพัฒนาสู่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจาก “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET )” โดยเป็นทุนให้เปล่า พร้อมกับค่าสอบ CFA® Program ( Chartered Financial Analyst ) ที่มีค่าสมัครสูงถึง 30,000.- อีกด้วย

ซึ่งน้องๆ ที่จบการศึกษาจาก “สาขาวิชาการเงิน ( Finance )” สามารถประกอบอาชีพในแวดวงธุรกิจได้อย่างหลากหลาย และไม่ได้จำกัดไว้แค่ด้านการเงิน หรือด้านธนาคารเท่านั้น MUIC จึงได้รวบรวมอาชีพที่สนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันเป็นอย่างมาก จะมีอาชีพไหนบ้างและต้องเรียนวิชาไหนเป็นพิเศษหรือไม่ ไปดูกันเลย

สำหรับสายงานวาณิชธนกิจทำหน้าที่ในการระดมทุน, ซื้อขายหลักทรัพย์, บริหารการควบรวมและซื้อกิจการ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาในธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ซึ่งหน้าที่การทำงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะสามารถแตกย่อยๆ ออกไปหลายอาชีพ ตามความสามารถ ไม่ว่าจะเป็น…
  • Fund Management หรือผู้จัดการกองทุน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยบริหาร Portfolio ของลูกค้าว่าจะทำอย่างไรให้ได้ผลตอบสูงสุด และไม่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่ลูกค้าจะรับได้
  • Investment Analyst หรือผู้วิเคราะห์ด้านลงทุน ค้นหาบริษัทจดทะเบียนที่น่าสนใจลงทุน โดยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ แนวโน้มของธุรกิจจัดทำประมาณการงบการเงินและวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ตลอดจนแนวโน้มการจ่ายเงินปันผล
ซึ่งน้องๆ คนไหนที่อยากทำงานในด้าน Investment Banking ที่ MUIC เรามีวิชาที่ช่วยส่งเสริมอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น Corporate and Alternative Asset Valuations ( ICMF 425 ), Financial Theory and Innovations in a Disruptive World ( ICMF 427 ) และ Special Topic in Finance ( ICMF 426 ) ซึ่งตอนนี้เป็นหัวข้อของ “Fintech” ที่กำลังได้รับความนิยมในตลาดโลกเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

 เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมากสำหรับ “Financial Advisor” ที่จะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการบริหารเงินในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, กองทุน, ประกัน, อสังหาริมทรัพย์, การวางแผนการศึกษา, การวางแผนการเงินในวัยเกษียณ และอีกมากมาย 

นอกจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนในส่วนต่างๆ แล้ว Financial Advisor ยังสามารถให้คำปรึกษาสำหรับบริษัทหรือกิจการต่างๆ ที่ต้องการควบรวมทางธุรกิจกับบริษัทอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาชีพนี้จะทำงานอย่างอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับธนาคารใด และจะได้ค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม ( Fees ) นั่นเอง 

สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจและอยากทำงานในด้านของการเป็น Financial Advisor ที่สาขาวิชาการเงินของ MUIC มีวิชาที่จะช่วยพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนความรู้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Risk Management and Derivatives ( ICMF 322 ), Banking and Financial Institutions Management ( ICMF 323 ), Corporate and Alternative Asset Valuations ( ICMF 425 ) เป็นต้น 

 MUIC เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับอาชีพ “Wealth Advisor ” เท่าไหร่ แต่ต้องบอกว่าเป็นอาชีพที่กำลังมาแรงเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอาชีพด้านการเงิน อาชีพนี้จะทำหน้าที่วางแผนการเงินสำหรับผู้ที่มีเงินในจำนวนมากๆ และมีความมั่นคงทางการเงินสูง แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะลงทุนในด้านใดเพื่อสร้างรายได้อย่างสูงสุด ซึ่ง Wealth Advisor จะเข้ามาช่วยจัดการในปัญหา และวางแผนการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ในจุดนี้นั่นเอง 


สำหรับใครที่ต้องการเป็น “Wealth Advisor” ในอนาคต MUIC ขอแนะนำวิชา Business Finance for Entrepreneurs ( ICMB 215 ), Business Innovation and Entrepreneurship or Business Strategy ( ICMB 401 ), Business Taxation ( ICMF 320 ) รวมไปถึง Venture Capital Analyst ที่จะช่วยพัฒนาทักษะน้องๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

ถึงสาขาวิชาการเงินจะเป็นความรู้เฉพาะด้าน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกบริษัทจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อให้บริษัทและธุรกิจต่างๆ ดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินในส่วนจะทำหน้าที่ในการจัดหาเงินเข้าองค์กร ดูแลการใช้เงินและจ่ายเงินต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท รวมไปถึงควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต ควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่มีการให้เครดิตเทอมกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย

ซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินบริษัท จำเป็นต้องมีพื้นฐานวิชาเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็น Financial Accounting ( ICMB 213 ), Management of Business Infomation ( ICMB 207), Intermediate Accounting ( ICMF 321 ) รวมไปถึง Business Taxation ( ICMF 320 ) , Risk Management and Derivatives ( ICMF 322 ), Big Data and Financial Analytics ( ICMF 324) อีกด้วย 

สำหรับสายอาชีพที่ MUIC อยากแนะนำนั่นคือ Banking Officer หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารนั่นเอง ซึ่งหน้าที่การทำงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จะสามารถแตกย่อยๆ ออกไปหลายอาชีพ ตามความสามารถ ไม่ว่าจะเป็น…
  • Credit Analyst เจ้าหน้าที่อนุมัติสินเชื่อ วงเงินกู้ รวมไปถึงบัตรเครดิตต่างๆ ที่ลูกค้าติดต่อเข้ามาสู่ธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่อนุมัติสินเชื่อจำเป็นต้องคำนวณ และวิเคราะห์การเงินของผู้กู้
  • Relationship Management ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารและลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของทางธนาคาร และทำการสร้างรายได้เข้าธนาคารได้นั่นเอง
  • Client Service จะทำหน้าที่เกี่ยวกับดูแลลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในธนาคาร ให้คำปรึกษาและข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมสำหรับลูกค้าที่สนใจนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีอีกอาชีพที่เรียกว่าเป็นความใฝ่ฝันของน้องๆ สาขา “สาขาวิชาการเงิน ( Finance )” นั่นก็คือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของของ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศให้เติบโตและพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งน้องๆ คนไหนที่อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสาย Banking  ที่ MUIC เรามีวิชาที่ช่วยส่งเสริมอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Bussiness Communication ( ICMB 216 ), Financial Management ( ICMF 316 ), Management of Business Information ( ICMB 207 ) เป็นต้น