ตามมาดู “Computer Science ” สาขาแห่งเทคโนโลยีและอนาคต ว่าเขาเรียนอะไรกัน แล้วจบแล้วทำอะไรได้บ้างนะ

cover-computer_sci_blog
บทความสาระความรู้

ตามมาดู “Computer Science ” สาขาแห่งเทคโนโลยีและอนาคต ว่าเขาเรียนอะไรกัน แล้วจบแล้วทำอะไรได้บ้างนะ

ตามมาดู “Computer Science ” สาขาแห่งเทคโนโลยีและอนาคต
ว่าเขาเรียนอะไรกัน แล้วจบแล้วทำอะไรได้บ้างนะ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเทรนด์การนำอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีต่างๆ มาผสมผสานจนเกิดเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งต้องใช้ความรู้เฉพาะด้านที่ได้จากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์นี้นี่เอง

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science ) เป็นสาขาที่เป็นมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ได้รับความสะดวกสบาย สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และมีค่าตอบแทนอาชีพที่ค่อนข้างสูงเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันอีกด้วย

สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีความสนใจในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science ) และอยากจะเข้าศึกษาในสาขาดังกล่าว MUIC จะพาไปดูกันว่าสาขานี้เขาเรียนอะไร แล้วจบไปสามารถเลือกประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ไม่มีตกงานอย่างแน่นอน จะมีอาชีพไหนกันบ้างไปดูกัน

  • อาชีพแรกที่น้องๆ ที่จบจากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์เลือกเดินทางเส้นทางนี้นั่นคือ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “Data Scientist” นั่นเอง โดยหน้าที่หลักๆ ของอาชีพนี้คือการตั้งสมมติฐานประเด็นที่น่าสงสัย การค้นคว้าและวิเคราะห์ Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้ แล้วนำมาสร้างแบบจำลองเพื่อให้ได้คำตอบที่สามารถนำไปต่อยอดในแต่ละธุรกิจนั่นเอง
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ( Data Scientist ) เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะหลายด้านหลอมรวมกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ซึ่ง MUIC  เรามีวิชาเฉพาะด้านที่สามารถส่งเสริมอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Introduction to Artificial Intelligence ( ICGN 134 ), Statistics for Science ( ICMA 151 ), Machine Learning ( ICCS 461 ), Data Mining ( ICCS 361 ) หรือจะเป็น Principles of Data Science ( ICCS 261 ) ก็ได้ทั้งนั้น
  •  อาชีพ “ผู้พัฒนาด้านคอมพิวเตอร์” เป็นอาชีพที่น้องๆ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science ) ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้องๆ จะสามารถต่อยอดเส้นทางอาชีพได้อย่างหลากหลายตามความถนัดไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาส่วนหน้าบ้าน ( Front – End Developer ), นักพัฒนาส่วนหลังบ้าน ( Back – End Developer ), นักพัฒนาเต็มรูปแบบ ( Full Stack Developer ), นักพัฒนาเว็บไซต์ ( Web Developer ), นักพัฒนาโทรศัพท์ ( Mobile Developer), นักพัฒนาแอปพลิเคชัน ( Application Developer ) หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ( Software Developer ) ก็ตอบโจทย์
  •  “ผู้พัฒนาด้านคอมพิวเตอร์” ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางที่สามารถเลือกเรียนได้จาก MUIC  อาทิเช่นวิชา Introduction to Computer Programming ( ICCS 101 ), Web Application Development ( ICCS 340 ), Mobile Application Programming ( ICCS 448 ), Computer Architecture ( ICCS 324 ) เป็นต้น
  •  ถือว่าเป็นอาชีพที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมากในระดับโลก และมีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง อย่างอาชีพ “Machine Learning Engineer” ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า สร้างและออกแบบระบบ AI ( Artificial Intelligence ) ที่รองรับโมเดล Machine Learning และโมเดลอื่นๆ ที่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เพื่อนำมาประยุกต์กับของใช้ในชีวิตประจำวันนั่นเอง
  •  ซึ่งอาชีพ Machine Learning Engineer จะต้องมีทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรม และมีการจัดการข้อมูล ( Data Management ) รวมไปถึงต้องมีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ถึง Machine Learning Engineer มาเป็นอาชีพใหม่แต่ที่ MUIC มีรายวิชาที่สามารถตอบโจทย์ในสายงานนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning ( ICCS 461 ), Competitive Programming ( ICCS 303 ), Applied Algorithms ( ICCS 315 ), Computer Architecture ( ICCS 324 ) เป็นต้น
  •  อีกหนึ่งอาชีพสำหรับด้าน AI ( Artificial Intelligence ) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับอาชีพ Deep Learning Engineer ที่ทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Self – Driving car, Robotics หรือแม้กระทั่งการพัฒนาโปรแกรมที่ลอกเลียนแบบการทำงานของมนุษย์เพื่อลดทรัพยากรแรงงานในอนาคต และประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
  • สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีความสนใจในด้านของ Deep Learning Engineer ที่ MUIC มีวิชาเฉพาะทาง สำหรับน้องๆ ที่มีความสนใจในอาชีพนี้อยู่ด้วยกันหลากหลายวิชา ยกตัวอย่างเช่น Introduction to Computer Programming ( ICCS 101 ), Algorithms and Tractability ( ICCS 312 ), Human Computer Interaction and Visualization ( ICCS 302 ), Applied Algorithms ( ICCS 315 ), รวมไปถึง Discrete Mathematics ( ICCS 206 ), Statistics for Science I ( ICMA 151 ) และ Calculus เป็นต้น
  •  MUIC เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจเคยได้ยินชื่ออาชีพ User Interface Designer กันมาบ้างแล้ว เนื่องจากเป็นอาชีพที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทยและในระดับสากล ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของ User Interface Designer คือออกแบบแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์โดยนำเอาความต้องการของผู้ใช้ ที่ถูกวิเคราะห์จาก User Experience, ลูกค้าหรือผู้จัดการโครงการ ( Project Manager ) มาออกแบบต่อเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดนั่นเอง 
  •  อาชีพ User Interface จะต้องทำงานร่วมกับอาชีพ User Experience เป็นหลัก โดยจำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะด้าน ซึ่ง MUIC  เรามีวิชาเฉพาะด้านที่สามารถส่งเสริมอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Human Computer Interaction and Visualization ( ICCS 302 ), Web Application Development ( ICCS 340 ), Computer Graphics and Augmented Reality ( ICCS 404 ), E-Commerce ( ICCS 444 ) เป็นต้น
  • ปิดท้ายกันที่อาชีพที่เหล่าน้องๆ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( Computer Science ) สามารถเดินในเส้นทางนี้ได้นั่นก็คือ “โปรแกรมเมอร์ ” นั่นเอง ซึ่งอาชีพโปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่จำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้ จึงทำให้มีค่าตอบแทนอาชีพที่ค่อนข้างดี และมีตำแหน่งที่รอให้น้องๆ เข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก อาชีพโปรแกรมเมอร์นี้จะทำหน้าที่ในการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ โดยเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์นั้นๆ ทำงานได้ รวมไปถึงแก้ไขปัญหาจากระบบที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
  •  ที่ MUIC เรามีวิชาเฉพาะด้านที่สามารถส่งเสริมอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Programming for Problem Solving ( ICGN 129 ), Introduction to Computer Programming ( ICCS 101 ), System Skills and Low-level Programming ( ICCS 121 ), Competitive Programming ( ICCS 303 ) หรือจะเป็น Computer Networks ( ICCS 320 ) ก็ตอบโจทย์